วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ทวีปอเมริกาเหนือ 

            เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกา ตามลำดับ 
            ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศ โดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน 
            ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 3 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ประเทศเม็กซิโก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ 
            ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 21 ประเทศ 
            โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ 
            สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง 
            ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา 
            อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ชาวเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ได้รับอาสาพระนางอิสเบลลา แห่งสเปน เดินเรือสำรวจมหาสมุทรแอตแลนติก 
            เพื่อค้นหาเส้นทางไปยังทวีปเอเชีย เขาเดินทางมาพบทวีปอเมริกาเหนือ ในปี พ.ศ.2035 และเดินทางมาสำรวจอีก 3 ครั้ง ในเวลาต่อมา
            โดยเข้าใจว่า ดินแดนที่พบนี้คือทวีปเอเชีย ต่อมา อเมริโก เวสปุคชี ชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้เดินทางมายังดินแดนนี้ตามเส้นทางของโคลัมบัส เพื่อสำรวจให้กับสเปนและโปรตุเกส รวม 4 ครั้ง 
            ในปี พุทธศักราช 2040, 2042, 2044 และ 2046 รายงานของเขาถูกตีพิมพ์เผยแพร่ ทำให้ชาวยุโรปทราบเรื่องราวทวีปใหม่ดีขึ้น และตั้งชื่อทวีปใหม่ว่า “อเมริกา” เพื่อเป็นเกียรติแก่ อเมริโก เวสปุคชี 
            พวกที่เดินทางสู่อเมริกา โดยเรือขนาดเล็ก ต่างเบียดเสียดกันอย่างแสนสาหัส ตลอดเวลาการเดินทาง 16 สัปดาห์ 
            ยังชีพด้วยการแบ่งปันส่วนอาหาร หลายครั้งที่ถูกพายุพัดเสียหาย ผู้คนล้มป่วยและตายลงเป็นจำนวนมาก เด็กทารกนั้นยากนักที่จะมีชีวิตรอดได้
            ภาพแผ่นดินใหม ่ที่ชาวอาณานิคมได้เห็นคือ ภาพป่าทืบอุดมสมบูรณ์ ด้วยพันธุ์ไม้ อันหมายถึงว่า จะมีฟืน ไม้สำหรับต่อเรือ ปลูกบ้าน ทำสีย้อมผ้า ตลอดจนเครื่องใช้ ต่างๆ อย่างพร้อมสรรพ 
            ดินแดนที่ถูกค้นพบใหม่ ได้มีการแย่งชิงกันหลายชาติ ชาวสเปนครอบครองอาณานิคมในเขตอเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก อังกฤษสามารถก่อตั้งอาณานิคมบริเวณรอบๆ อ่าวฮัดสัน และชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
            ส่วนตอนกลางของอ่าวเม็กซิโกขึ้นไป ตลอดลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทะเลสาบทั้ง 5 และชายฝั่งตะวันออกของแคนาดา เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
            มูลเหตุที่ชักจูงให้ผู้คนอพยพมาสู่ทวีปอเมริกา คือความปรารถนาในการสร้างฐานะ ความอยากที่จะเผชิญโชค ความใฝ่ฝันที่จะมีเสรีภาพทางการเมืองและการนับถือศาสนา
            ต่อมาอังกฤษทำสงครามกับฝรั่งเศสในทวีปยุโรป ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จึงต้องเสียอาณานิคมในอเมริกาให้กับอังกฤษ ทำให้อาณานิคมของอังกฤษขยายออกไป พร้อมกับการขยายตัวทางวัฒนธรรมเป็นเงาตามตัว
            ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอังกฤษกับชาวอาณานิคมได้เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายการคลังของอังกฤษเรียกเก็บภาษีในรูปแบบต่าง ๆ จากชาวอาณานิคม 
            เช่น พ.ร.บ. น้ำตาล พ.ศ.2307 ให้เก็บสินค้าน้ำตาลที่ไม่ได้ส่งมาจาก อังกฤษ พ.ร.บ. แสตมป์ พ..ศ. 2308 ให้ปิดแสตมป์สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ภาษีที่รัฐบาลอังกฤษเรียกเก็บสูงขึ้นเรื่อยๆ 
            จนชาวอาณานิคมเกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม และแล้ว ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2316 ณ เมืองบอสตัน 
            ชาวอาณานิคม กลุ่มหนึ่งได้ปลอมตัวเป็นชาวอินเดียนแดงลงไปในเรือบรรทุกสินค้าของอังกฤษ แล้วขนหีบหอใบชาโยนทิ้งทะเล เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “บอสตัน ที ปาร์ตี” 
            ได้กลายเป็นชนวนที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน ของชาวอาณานิคม ต่อต้านรัฐบาลอังกฤษอย่างจริงจัง สงครามการต่อต้านรัฐบาลอังกฤษได้ยืดเยื้อนานถึง 6 ปี 
            มีการสู้รบเกิดขึ้นทุกแห่ง โดยมี ยอร์ช วอชิงตัน เป็นแม่ทัพและแล้วในวันที่ 4 กรกฏาคม พ..ศ. 2319 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพ ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย
            โดยโทมัส เจฟเฟอสัน เป็นผู้ร่างคำประกาศอิสรภาพ ไม่เพียงแต่เกิดชาติใหม่เท่านั้น แต่เป็นการประกาศให้โลกรู้ถึง ความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ 
            ในระยะแรกมีเพียง 13 รัฐเท่านั้น ที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ที่รวมกันเข้าเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา 
            หลังจากนั้นก็ขยายอาณาเขตมุ่งสู่ทิศตะวันตก ซึ่งก็ต้องประสบกับ การต่อต้านจากพวกอินเดียนแดงเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นชนพื้นเมืองดั่งเดิมอย่างมาก 
    
            การขยายตัวของสหรัฐอเมริกาไปทางทิศตะวันตก ในครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้คือ
            1. โดยการบุกเบิกจับจองที่ดินว่างเปล่า
            2. โดยการซื้อ
2.1 รัฐหลุยเซียนา ซื้อจากฝรั่งเศส 15 ล้านดอลลาร์
2.2 รัฐฟลอริดา ซื้อจากสเปน 5 ล้านดอลลาร์
2.3 แคลิฟอร์เนีย ซื้อจากเม็กซิโก 10 ล้านดอลลาร์
2.4 อลาสก้า ซื้อจากรัสเซีย 7.2 ล้านดอลลาร์
            3 . โดยการผนวกดินแดนคือรัฐฮาวายและเท็กซัส
            4 . โดยการทำสงครามได้แคลิฟอร์เนียและนิวเม็กซิโกจากการรบชนะเม็กซิโก

            หลังจากสหรัฐอเมริกาได้ประกาศเอกราช ไม่เป็นอาณานิคมของอังกฤษแล้ว แคนาดาซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษเหมือนกัน แต่อยู่ใกล้กับสหรัฐอเมริกา 
            ทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องอะลุ่มออล่วยให้แคนาดาบ้าง ต่อมาภายหลังได้ให้แคนาดาปกครองตนเอง โดยมีฐานะที่เรียกว่า“ดอมิเนียนแห่งแคนาดา”
            หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แคนาดาจึงได้รับเอกราช แต่เนื่องจากชาวอาณานิคมในแคนาดา มีความผูกพันกับอังกฤษ รัฐบาลของแคนาดาจึงขออยู่ภายใต้ระบบที่เรียกว่า “ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ” commonwealth
            จะเห็นได้ว่าประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกา ได้สร้างชาติของตนให้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาไม่นานนัก ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 
            แม้จะพยายามสร้างเอกลักษณ์ของตนขึ้นมาเพียงใด ก็ยังคงมีสายใยของความผูกพัน กับประเทศในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ 
            ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่มีร่วมกันเป็นระยะเวลานาน

ทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย มีลักษณะคล้ายกับเป็นคาบสมุทรใหญ่ของทวีปเอเชีย 
            จึงมีผู้เรียกทวีปยุโรป และเอเชียรวมกันว่า “ยูเรเซีย” พรมแดนธรรมชาติที่ใช้เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีเอเชียออกจากกัน คือ แนว เทือกเขาอูราลและแม่น้ำอูราล

ที่ตั้ง

            ทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 36 องศาเหนือ ถึง 71 องศาเหนือ และลองจิจูดประมาณ 9 องศาตะวันตก ถึง ลองจิจูดประมาณ 66 องศาตะวันออก กล่าวคือ ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูดที่ 23 ½ องศาเหนือ) ซึ่งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเหนือเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนเหนือสุดของทวีปเท่านั้นที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเหนือ

ขนาด

            ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แต่ใหญ่กว่าออสเตรเลีย

อาณาเขตติดต่อ มีดังนี้

            ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และมีทะลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส น่านน้ำเหล่านี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อย มาก เพราะในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ใช้เดินเรือไม่ได้ คาบสมุทรสำคัญด้านนี้ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์

            ทิศตะวันออก ติดต่อเป็นผืนแผ่นดนเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแนวพรมแดน 

            ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลนอร์วิเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเลบอลติก เกาะ สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์

            ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะความเว้าแหว่งของชายฝั่งทะเลมีมากนั่นเอง 
            และยังทำให้มีคาบสมุทรหลายแห่ง ได้แก่ 
  1. คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และสวีเดิน คาบสมุทรจัดแลนด์เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก 
  2. คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกส 
  3. คาบสมุทรอิตาลี เป็นที่ตั้งของประเทศอิตาลี 
  4. คาบสมุทรบอลข่าน เป็นที่ตั้งของประเทศอดีตยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลกรีซ (สาธารณรัฐเฮเลนิก) 
  5. คาบสมุทรไครเมียในประเทศยูเครน

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติศาสตร์ความเจริญต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 2000 ปี มาแล้ว
            มีหลักฐานปรากฎอย่างชัดเจนว่า ความเจริญของทวีปยุโรปทีราก ฐาน กำเนิดจากอารายธรรมไมโนน (Minoan Civilization) 
            ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะครีต(Crete)ตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านในทะลเมดิเตอร์เรเนียน 
            อารยธรรมไมโนนเป็นอารยธรรม ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างอารยธรรมโบราณ 2 แห่ง คือ 
            อารยธรรมอียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์) 
            อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส) 
            จนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆ ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 
            โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่านและคาบสมุทรอิตาลี จึงนับว่าชนชาติกรีกและชนชาติโรมัน มีส่วนสำคัญที่สุดในการวางรากฐานความเจริญในยุโรป
            ชนชาติกรีกเป็นพวกอินโดยูโรเปียนมีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบแม่น้ำดานูบ ในเขตประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน เมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสต์กาล 
            กรีกเป็นชนชาติแรกที่ได้รับถ่ายทอดความเจริญ ของอารยธรรมไมโนน ไปจากเกาะครีต 
            และหลังจากนั้นชนชาติโรมันซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก็ได้รับความเจริญไปจากชนชาติกรีกอีกทอดหนึ่ง 
            กรีกได้ทิ้งมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอันมีค่าหลายประการไว้แก่โลกตะวันตก เพราะกรีกเป็นนักคิดและนักสร้างสรรค์ ที่สำคัญ
            ผลงานที่เด่นๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ปรัชญา 
            และที่สำคัญที่สุด คือ การปกครองระบอบประชาธิบไตย ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน 
            ส่วน ชนชาติโรมัน นั้น แม้ว่าจะรับความเจริญต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรมมาจากกรีก แต่ก็รู้จักที่จะนำมาประยุกต์ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ทางด้านการใช้สอยให้คุ้มค่า 
            โดยเฉพาะการวางผังเมืองการวางท่อลำเลียงน้ำ ที่อาบน้ำสาธารณะ ผลงานทางศิลปะต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของการร่างกฎหมายประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 
            โรมันเป็นชนชาติที่มีความสามารถกล้าหาญ ได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนกรีก และดินแดนของชนชาติอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง 
            จนทำให้อาณาจักรโรมัน กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีอาณา เขต ครอบคลุมเกือบทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป 
            โดยมีอาณาเขต ตั้งแต่ตะวันตกของทวีปยุโรป คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน ดินแดนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตลอดไปจนถึงบริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา 
            จักรวรรดิโรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญ ของทวีปยุโรปอยู่ประมาณ 300 ปี ภายหลังที่มีการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็น
            จักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยมีเมืองหลวงอยู่ทีกรุงโรม
            และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 แล้ว 

            จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับ และในที่สุดได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมัน เผ่าติวตันเข้ารุกรานและยึดครองใน ค.ศ.476 
            ซึ่งมีผลทำให้ความเจริญต่าง ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมหยุดชะงักลง สภาพทางสังคมของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ภายหลังการุกรานของอนารยชน เต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสน 
            บ้านเมืองระส่ำระสายไปทั่ว มีศึกสงครามติดต่อกันเกือบตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการของกรีก-โรมัน ต้องหยุดชะงักลง 
            และทำให้ทวีปยุโรปตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า ยุคมืด Dark Ages ซึ่งอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-10 
            ในระหว่างนั้นคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป 
            เพราะเป็นระยะเวลาที่ประชาชน กำลังแสวงหาที่พึ่งทางใจ วัดและสันตะปาปา คือศูนย์รวมแห่งจิตใจของประชาชน คริสต์ศาสนาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะนั้น
            อิทธิพลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ชาวตะวันตกต่างพากันยอมรับ ในความยิ่งใหญ่ ่และอำนาจของพระเจ้า ในการดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้น 
            จนทำให้เกิดความกลัวที่จะคิดหรือกระทำการใดๆ ที่นอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ที่ทางศาสนาได้กำหนดไว้
            อย่างไรก็ตามในระยะคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมของยุโรป ไปในทางที่ดี คือ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรอเนสซองส์ Renaissance 
            ซึ่งทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก-โรมัน ที่หยุดชะงักไปตั้งแต่ยุคมืดขึ้นมาใหม่ 
            และยังส่งผลต่อเนื่องไปสู่การริเริ่มแนวคิด เริ่มมองทุกอย่างในลักษณะของเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาตน พิจารณาแทนความเชื่องมงายอย่างไร้เหตุผล ดังที่เคยปฏิบัติมาในยุคมืด 
            เริ่มมีความคิดว่ามนุษย์สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ สามารถปรับปรุง ทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ด้วยความสามารถตนเอง
            สมัยเรอเนสซองส์จึงเป็นสมัยที่ก้าวไปสู่ความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของโลกตะวันตกในระยะต่อมา 
            ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางความเจริญของทวีปยุโรป ได้ย้ายมาอยู่ ในบริเวณประเทศต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในบริเวณยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เป็นต้น 
            นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ทวีปยุโรปจึงก้าวเข้าสู่สภาพสังคมแบบสมัยใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นการพัฒนา ในด้านความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ 
            อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวยุโรป เป็นอย่างมาก อาทิ การปฏิวัติศาสนาที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 
            โดยนักบวชชาวเยอรมนี มาร์ติน ลูเธอร์ Martin Luthur ค.ศ.1483-1546 ทำให้มีการก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งแสดงให้เห็นความกล้าหาญ ในการแสดงออก
            ซึ่งการต่อต้านคัดค้านนิกายดั้งเดิม คือ โรมันคาทอลิก ที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากมาก่อน 
            นอกจากนี้ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีผลทำให้มนุษย์เริ่มค้นคว้าหาความจริงจากธรรมชาติ 
            มีการพิสูจน์ว่าโลกกลม ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล ซึ่งมีผลต่อการริเริ่มสำรวจทางทะเล และการแสวงหาอาณานิคมกันอย่างกว้างขวางในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 
            และทำให้วัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอาณานิคมต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ 
            รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่อิทธิพลของยุโรป ทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้แผ่ขยายตัวไปทั่วโลก

            การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษก่อน และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก 
            ก็นับว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ที่นำไปสู่ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง 
            และส่งผลกระทบทำให้ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่นำหน้าทวีปอื่นๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน

ดอริก
ไอโอนิก
โครินเธียน
ศิลปะโกธิค (Gothic)
หัวเสาเป็นอารยธรรมของกรีกโบราณ 3 แบบ

ศิลปะโกธิค
เริ่มต้นขึ้นปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปี
วิหารพาร์เธนอน(parthenon)
โคลอสเซียม(Colosseum)
ประวัติความเป็นมาของทวีปแอฟริกา

            ถึงแม้ว่าทวีปแอฟริกา จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมาก่อน ในกลุ่มชาวยุโรปว่าเป็น ทวีปมืด หรือ กาฬทวีป (Dark Continent) ก็ตาม
            แต่บริเวณตอนเหนือของทวีป เคยเป็นดินแดนที่ยอมรับกัน ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่เก่าที่สุด 
            บริเวณดังกล่าวได้แก่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศยิอิปต์
            อารยธรรมอียิปต์ เริ่มต้นเมื่อประมาณ 3,500 ปี ก่อนคริสต์กาล ความเจริญของอียิปต์บางอย่าง มีส่วน เสริมสร้างและเป็นรากฐานความเจริญของอารยธรรมยุโรปด้วย 
            ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ของชาวอียิปต์นับว่าเด่นกว่าของชนชาติใดๆ ในสมัยเดียวกัน 
            ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะหรือวัฒธรรม วิวัฒนาการ ของปกครองของชาวอียิปต์ ที่เริ่มต้นจากการรวมตัวเป็นหมู่บ้านในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาเป็นสองอาณาจักรและรวมเป็นประเทศ 
            รวมทั้งความสามารถในการจัดระบบการปกครองของกษัตริย์ ที่เน้นการดึงอำนาจมาสู่ศูนย์กลาง 
            มีผลทำให้อียิปต์มีระบบการปกครอง ที่มั่นคงอย่างยิ่งในสมัยโบราณชาวอียิปต์ เป็นชนชาติแรกที่ให้มรดกแก่โลกทางด้านวัฒนธรรมภาษา กล่าวคือ เป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์ตัวอักษร

            ตัวอักษรอียิปต์รุ่นแรก คืออักษรเฮียโรกลิฟฟิค (Hieroglyphic) มีลักษณะเป็นอักษรภาพ 
            ความเชื่อในศาสนาโดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ซักนำให้ชาวอียิปต์ค้นคว้าการทำมัมมี่ เพื่อเก็บรักษาศพมิให้เน่าเปื่อย เพื่อรอการกลับคืนมาของวิญญาณ 
            และยังเชื่อมโยงไปสู่ผลงานที่เด่นที่สุดทางด้านสถาปัตยกรรม คือการสร้างพีระมิด ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บศพของฟาโรห์
            นอกจากนี้ชาวอียิปต์ ยังมีความสามารถทางด้านการชลประทาน เลขคณิต เรขาคณิตและการแพทย์อีกด้วย
            อาณาจักรอียิปต์โบราณ มีความเจริญรุ่งเรืองติดต่อกันมานานหลายพันปี จนกระทั่งระยะหลังได้ถูกต่างชาติ สับเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครอง อาทิเช่น อัลซีเรียน เปอร์เซียน กรีก โรมัน 
            โดยเฉพาะอาหรับ ที่เข้ามาครอบแทนที่โรมัน ใน ค.ศ. 1185 ซึ่งมีผลทำให้ดินแดนตอนเหนือของทวีปแอฟริกา รับถ่ายทอดวัฒนธรรมมุสลิมไว้ทั้งหมด
            ส่วนการสำรวจภายในทวีปแอฟริกา เริ่มมีอย่าจริงจัง ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายหลังการปฎิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความต้องการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ มาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม 
            แหล่งเชื้อเพลิงใหม่คือน้ำมัน แหล่งแร่ ทองคำ รวมทั้งแหล่งระบายพลเมือง ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว 
            ชาวยุโรปจึงมีความเห็นว่า ทวีปแอฟริกาน่าจะเป็นดินแดนที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ จึงเริ่มให้ความสนใจที่จะเดินทางเข้าไปสำรวจภายในทวีป เพื่อจับจองไว้เป็นอาณานิคม 
            แทนที่จะเดินทางสำรวจชายฝั่งทะเล อย่างที่เคยกระทำมา เมื่อครั้งเริ่มแสวงหาเส้นทางเดินเรือไปยังทวีปเอเซีย 
            คริสต์ศตวรรษที่ 15 – 16 เบลเยียมเป็นชนชาติแรก ที่เริ่มเข้าไปบุกเบิก และได้ทำการจับจองบริเวณสองฝั่งแม่น้ำซาอีร์ (คองโก) ไว้ใน ค.ศ. 1876
            บรรดาประเทศในยุโรปทั้งหลาย อังกฤษและฝรั่งเศสนับว่าเป็นคู่แข่งขันสำคัญในการยึดครองดินแดนในทวีปแอฟริกา 
            ดินแดนของฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจนถึงทะเลทรายและฮารา 
            ส่วนอังกฤษได้เข้าครอบครองบริบริเวณแอฟริกาทางเหนือ ตะวันตก ตะวันออก และตอนใต้ ซึ่งส่วนใหญ่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรมีค่า

            นอกจากนี้ประเทศอื่น ๆ เช่น อิตาลี สเปน เยอรมัน โปรตุเกส ได้พากันยึดครองดินแดนต่าง ๆ จนในที่สุดเหลือประเทศที่เป็นอิสระเพียง 2 แห่ง คือ ไลบีเรีย และเอธิโอเปีย เท่านั้น
            การแข่งขันในการแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริการดังกล่าวนำไปสู่ความขัดแย้งกัน ระหว่างประเทศมหาอำนาจ และเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามโลก ครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914 – 1918)
            นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939 – 1945 ) เป็นต้นมา ประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา ต่างก็ดิ้นรนในการเรียกร้องเอกราชกันเรื่อยมา และต่างก็ประสบความสำเร็จในการปกครองตนเอง
            อย่างไรก็ตาม การที่แอฟริกาเป็นทวีปใหญ่ที่ประกอบด้วยประเทศใหญ่เล็กมากมาย 
            จึงเป็นดินแดนที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาสำคัญที่สุดคือปัญหา ทางเศรษฐกิจสังคม ที่นำไปสู่การขาดความมั่นคง ทางการเมืองในหลายประเทศ 
            นอกจากนี้ยังมีปัญหาอันเกิดจากนโยบายการแบ่งแยกผิว คือนโยบายอะพาร์ดไฮต์ (Apartheid) ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ที่รัฐบาลเป็นคนผิวขาว และชนผิวดำไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งยังเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้มาในปัจจุบัน

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            ออสเตรเลียเป็นทวีปเกือบสุดท้ายที่ชาวยุโรปเดินทางมาพบ ก่อนหน้านี้ชาวยุโรป ไม่ทราบว่ายังมีดินแดนทางตอนใต้ 
            เพียงแต่คาดว่าน่าจะมี ในสมัยกรีกโบราณ นักภูมิศาสตร์ชื่อ ปโตเลมี ได้เขียนแผนที่โลก โดยแสดงให้เห็นว่าทางตอนใต้ของทวีปแฟริกา 
            มีดินแดนเชื่อมต่อกับทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งปิดล้อม มหา สมุทรอินเดียไว้ และตั้งชื่อดินแดนส่วนนั้นว่า “แทร์รา อินคอกนิตา” Terra Incognita แปลว่า ดินแดนที่ยังไม่รู้จัก 
            ต่อมาในสมัยกลาง นักภูมิศาสตร์ก็ยังเชื่อว่าดินแดนทางใต้นี้มีอยู่ จึงปรากฏแผนที่หลายฉบับที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง ที่แสดงที่ตั้งของแผ่นดินขนาดใหญ่ทางตอนใต้ ของมหาสมุทรอินเดียแบบเดียวกับ ปโตเลมี แต่เรียกดินแดนนี้ว่า แทร์รา ออสตราลิส Terra Australis แปลว่า ดินแดนทางใต้ ซึ่งชื่อนี้กลายเป็นชื่อของทวีปและประเทศออสเตรเลีย ในปัจจุบัน

            การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปได้รับการบันทึกไว้ครั้งแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ.1606 เมื่อชาวนักสำรวจชาวฮอลันดา ชื่อ วิลเลม แจนสซูน Willem Janszoon ค.ศ.1571-1638 ทำแผนที่ชายฝั่งของแหลมเคปยอร์กและคาบสมุทรเพนินซูลา Cape York and Peninsula ของรัฐควีนสแลนด์ จากการค้นพบครั้งนั้น ทำให้เริ่มมีการทำแผนที่ชายฝั่งตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ต่อมา ในปี ค.ศ. 1642 นักเดินเรือ ชาวฮอลันดา ชื่อ อเบล แทสมัน ได้เดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียอ้อมไปทางใต้ของออสเตรลีย จนพบเกาะ ซึ่งเขาเรียกชื่อว่า เกาะแวนดีเมน Van Diemen’s Land ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเกาะแทสมาเนียเพื่อเป็นเกียรติแก่ อเบล แทสมัน และเรียกดินแดนที่ค้นพบนี้ว่า “นิวฮอลแลนด์” New Holland แต่ขณะนั้นยังไม่มีความตั้งใจที่จะประกาศยึดครองดินแดนดังกล่าว ต่อมาในปีเดียวกัน นักสำรวจชาวสเปน ชื่อ หลุยส์ วาเอซ เดอ ทอเรส Luis Vaez de Torres ได้เดินเรือผ่านช่องแคบระหว่างออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ช่องแคบทอเรส”
            จากนั้นในปี ค.ศ.1688 วิลเลียม แดมเปียร์ William Dampier เป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษคนแรกที่เข้าไปตั้งถิ่นฐาน บนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย โดยเขียนชื่อไว้บนสังกะสีตอกติดไว้บนต้นไม ้เพราะพบคนพื้นเมืองแสดงอาการเป็นศัตรูและสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งจึงไม่สนใจ ต่อมาในปี ค.ศ.1770 กัปตันเจมส์ คุก James Cook ชาวอังกฤษ ได้ล่องเรือมาสำรวจและได้จัดทำแผนที่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย เห็นสภาพภูมิอากาศคล้ายแคว้นเวลส์ของสหราชอาณาจักรจึงได้ตั้งชื่อดินแดนแถบนั้นว่า “นิวเซาท์เวลส์” New South Wales พร้อมกันนั้น ได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แล้วยึดครองออสเตรเลีย เป็นอาณานิคม
            สาเหตุที่รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจส่งนักโทษมาตั้งถิ่นฐานที่ออสเตรเลียเนื่องจาก อังกฤษได้สูญเสียอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และต้องการระบายนักโทษที่แออัดอยู่ในคุกของประเทศอังกฤษ โดยกัปตันอาร์เธอร์ฟิลลิป Arthur Philip เป็นผู้ควบคุมนักโทษกลุ่มแรกได้เดินทางมาถึงอ่าวซิดนีย์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1788 และได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวณ อ่าว พอร์ต แจคสัน แล้วตั้งชื่อว่า ซิดนีย์ โคฟ ในวันที่ 26 มกราคม 1788 (ถือเป็นวันชาติออสเตรเลีย) นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานในทวีปออสเตรเลียของชาวอังกฤษ

            ผู้ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกส่วนใหญ่จะเป็นนักโทษและครอบครัวของทหารแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ ผู้ที่ตั้งใจย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ซึ่งรวมถึงชนชาติอื่น ๆ อาทิ อิตาเลียน กรีกและชาวยุโรปชาติอื่น ๆ ตลอดจนชาวเอเชีย อาทิ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกบริเวณอ่าวโบตานีเมืองซิดนีย์ ในปัจจุบัน
            ต่อมามีการค้นพบทองคำ ในปี ค.ศ. 1800 จัดว่าเป็นยุค “ตื่นทอง” GOLD RUSH ส่งผลให้ผู้ที่มิใช่นักโทษอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทวีปออสเตรเลียมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยกลุ่มคนที่มามีทั้งชาวอังกฤษ ไอร์แลนด์ เยอรมัน จีน นอกจากนี้ ยังมีชาวแอฟริกันอพยพเข้ามาและมีการนำ อูฐ เข้ามาด้วย เพื่อออกสำรวจในพื้นที่ภายในทวีป
            ปรากฏว่าช่วงระยะเวลา เพียง 10 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1853-1863 ประชากรในอาณานิคม วิตอเรีย เพิ่มขึ้นจาก 77,000 คน เป็น 540,000คน ผลของการตื่นทอง เป็นเหตุให้มีผู้คนอพยพเข้าไปในออสเตรเลียเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะชาวจีน ได้เดินทางเข้าไปแสวงโชคหางานทำ ชาวอาณานิคมที่เป็นชาวผิวขาวเริ่มวิตกกังวลและตั้งข้อรังเกียจชาวจีนที่เข้ามาแย่งอาชีพ รัฐบาลของออสเตรเลีย จึงได้ใช้ นโยบายออสเตรเลียขาว White australian policy เพื่อจำกัดคนที่ไม่ใช่ผิวขาวเข้าเมือง โดยพาะชาวจีน
            การตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือ ชื่อที่เรียกในขณะนั้นคือ แวนไดเมนส์แลนด์ Van Diemen’s Land ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1825 แยกออกมาเป็นอีกรัฐหนึ่ง ชื่อ รัฐแทสเมเนีย ตามชื่อ นักเดินเรือ อเบลแจนซูน ทัสมัน Abel Janszoon Tasman
            นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1850 อุตสาหกรรมขนสัตว์ การขุดทอง การขาดแคลนแรงงาน แผ่นดินอันกว้างใหญ่สำหรับการเพาะปลูก การทำเหมืองแร่ และการค้าขาย ได้ทำให้ออสเตรเลียเป็นดินแดนแห่งโอกาส และเป็นแรงกระตุ้นให้คนจากพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกหลั่งไหลมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนออสเตรเลียเพิ่มจำนวนมากขึ้น
            ในปี ค.ศ.1829 สหราชอาณาจักรได้ประกาศยึดครองดินแดนทางฝั่งตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย และได้แยกดินแดนทางด้านตะวันตกออกจาก นิวเซาท์เวลส์ มาเป็นอีกหลายมลรัฐ ได้แก่ รัฐออสเตรเลียใต้ ในปี ค.ศ.1836 รัฐนี้เรียกว่าเป็น พื้นที่เสรี Free Province คือ เป็นรัฐที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรองรับนักโทษ Penal Colony รัฐวิคตอเรีย ในปี ค.ศ.1851 และรัฐควีนส์แลนด์ ในปี ค.ศ.1859 ในส่วนของเขตการปกครอง เทอร์ริทอรีเหนือNorthern Territory ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1911 โดยเป็นส่วนที่ตัดออกมาจากรัฐออสเตรเลียใต้
            ในปี ค.ศ.1848 นับเป็นปีแห่งการยุติการขนส่งนักโทษมายังทวีปออสเตรเลีย เนื่องจากมีการรณรงค์ยกเลิกมาตรการดังกล่าวโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน ประเทศออสเตรเลียจึงไม่ใช่ดินแดนอาณานิคมของนักโทษอีกต่อไป
            ก่อนที่ชนชาติยุโรปจะย้ายถิ่นฐานมาที่ทวีปออสเตรเลีย บนทวีปนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ ซึ่งจำนวนประชากรในขณะนั้นคาดว่าประมาณ 315,000 คน แต่วิถีชีวิตของชนพื้นเมืองเหล่านี้ถูกเปลี่ยนไปเมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองและประกาศเป็นพื้นที่อาณานิคม ซึ่งต่อมาทำให้ชนพื้นเมืองมีจำนวนลดน้อยลง โดยในช่วงปี ค.ศ.1930 จำนวนประชากรลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรเริ่มแรก

            สรุปนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1788 มีชายหญิงประมาณ 160,000 คน ที่อพยพไปออสเตรเลียในฐานะเสมือนนักโทษ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ชนพื้นเมืองของออสเตรเลียได้เผชิญความยากลำบาก จากการรุกรานของผู้อพยพที่อ้างสิทธิในฐานะเจ้าอาณานิคม มีการขับไล่ออกจากพื้นที่ และการเข้ายึดทรัพย์ ในขณะเดียวกัน ชนพื้นเมืองต้องอยู่อย่างลำบาก เจ็บไข้ได้ป่วยและการเสียชีวิต ตลอดจนวิถีชีวิตดั้งเดิมและธรรมเนียมปฏิบัติถูกทำลาย
            ใน ค.ศ. 1914 ออสเตรเลียได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศออสเตรเลียเป็นอย่างมาก ผู้ชายออสเตรเลียเกือบ 3 ล้านคน และอาสาสมัครเกือบ 400,000 คนต้องเข้าร่วมรบในสงคราม ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 60,000 คนและได้รับบาดเจ็บหลายหมื่นคน
            ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของออสเตรเลียมีส่วนสนับสนุนครั้งสำคัญในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับยุโรป เอเชียและภาคพื้นแปซิฟิก ได้เข้าสู้รบในสงครามและได้รับชัยชนะอย่างน่าภาคภูมิใจ
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาระหว่างสงครามโลก เป็นเวลาที่ประเทศไร้เสถียรภาพ เศรษฐกิจตกต่ำ และสถาบันทางการเงินของออสเตรเลียหลายแห่งล้ม
            ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือหลังจากปี ค.ศ.1945 ออสเตรเลียได้เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรือง กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งและเกิดความต้องการแรงงานอย่างมาก ผู้หญิงจำนวนมากเข้าไปทำงานในโรงงาน ขณะที่ผู้ชายที่กลับจากการออกรบในสงครามสามารถเข้ามาทำงานต่อได้
            ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียมีนโยบายที่ไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติในระดับสากลและที่นี่จึงเป็นบ้านสำหรับประชาชนที่มาจากกว่า 200 ประเทศ
            ในช่วงทศวรรษ 1950 เศรษฐกิจออสเตรเลียพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ระดับชาติ เช่น Snowy Mountains Scheme ซึ่งเป็นแผนกำลังไฟฟ้าพลังน้ำ ตั้งอยู่ในภูเขาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย รวมถึงชานเมืองออสเตรเลียก็เริ่มมีความเจริญแผ่ไปถึง ทำให้อัตราผู้เป็นเจ้าของบ้านเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 40 ในปี ค.ศ.1947 เป็นร้อยละ 70 ในทศวรรษ 1960
            การพัฒนาอื่น ๆ รวมถึงการรักษาความปลอดภัยทางสังคมของรัฐบาลและการเริ่มเผยแพร่สัญญาณโทรทัศน์ และในปี ค.ศ.1956 เมืองเมลเบิร์นได้เป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิก ทำให้ออสเตรเลียได้ส่องแสงประกายไปในระดับนานาชาติช่วงทศวรรษ 1960 เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของออสเตรเลีย โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1967 ชาวออสเตรเลียได้ลงประชามติระดับชาติ โดยมีคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้รัฐบาลแห่งชาติมีอำนาจผ่านกฎหมายที่ทำในนามของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาเงื่อนไขความเป็นอยู่ของชาวอะบอริจินและชาวเกาะทอเรส สเตรท ซึ่งในปัจจุบันจำนวนชนพื้นเมืองมีอยู่มากกว่าร้อยละ 2 ของประชากรทั้งประเทศ
            นอกจากนี้ รัฐบาลออสเตรเลียได้ดำเนินบทบาทที่สำคัญ โดยการพยายามสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มชนพื้นเมืองและที่มิใช่ชนพื้นเมือง การดำเนินการที่สำคัญ คือ การออกมากล่าวขอโทษอย่างเป็นทางการของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ในกรณีที่มีการแยกเด็กชาวพื้นเมืองออกจากครอบครัวดั้งเดิมเพื่อต้องการลบล้างวัฒนธรรม
ประเทศออสเตรเลียในปัจจุบัน นับเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมที่จะเจริญต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์


        คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง 

        ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

        1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
           1.1 หลักฐานชั้นต้น
           1.2 หลักฐานชั้นรอง

        2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
           2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
           2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

        3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
           3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
           3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
        1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
       หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ                                                                                      
        1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources                       
        หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด

        2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
   หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
        2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต

        3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
        3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
ครูชาญวิทย์
วิธีระวัติร์

ข้อมูลของฉันและครอบครัว

     1.  วิธีการหาความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของตนเองและครอบครัว          การเรียนประวัติศาสตร์  คือ  การเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคนในอดีต  เช่น  ประวัติของครอบครัวเรา  ความเป็นมาของชุมชนที่เราอยู่อาศัย  ประเทศของเรา  เป็นต้น
          ดังนั้น  การเรียนประวัติศาสตร์  จึงเป็นการเรียนรู้เรื่องราวของตนเองของชุมชน  ของประเทศ  ของชาติ  สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับตัวเรา  ซึ่งเราควรให้ความสนใจ
          การเรียนรู้ประวัติศาสตร์  ต้องอาศัยวิธีการทางประวัติศาสตร์  ได้แก่  การสืบค้นข้อมูล  การแสวงหาข้อมูล  การรวบรวมและจัดระบบข้อมูล
          ลักษณะของข้อมูล  มีหลายลักษณะ  ดังนี้
          1.  ข้อเท็จจริง                    2.  ข้อความ
          3.  ข่าวสาร                        4.  เอกสาร
          5.  สถานที่                        6.  สัญลักษณ์
                              ฯลฯ
          การค้นหาข้อมูล  เราควรเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวก่อน  เพราะเป็นข้อมูลที่เราสามารถค้นหาได้ง่าย  เช่น  ข้อมูลของตัวเรา  ข้อมูลของคนในครอบครัวของเรา  ซึ่งเราต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ช่วยในการสืบค้นข้อมูล  ดังแผนภูมิด้านขวามือ
          วิธีการทางประวัติศาสตร์  คือ
          1.  แหล่งข้อมูล
          2.  วิธีแสวงหาข้อมูล
          3.  การรวบรวมข้อมูล
          4.  การจัดระบบข้อมูล
          ก่อนที่จะเริ่มหาข้อมูล  เราต้องรู้แหล่งข้อมูลที่เราจะไปหาเสียก่อน  เพราะถ้าเราไปหาข้อมูลไม่ถูกแหล่ง  หรือไม่ถูกที่  ก็อาจจะไม่ได้ข้อมูลที่เราต้องการทราบ
          แหล่งข้อมูล  มีหลายลักษณะดังนี้
          1.  แหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคล  เช่น  พ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ครู  อาจารย์  เจ้าหน้าที่
          2.  แหล่งข้อมูลที่เป็นสถานที่  เช่น  บ้าน  โรงเรียน  วัด  พิพิธภัณฑ์
          3.  แหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารทางราชการ  เช่น  ทะเบียนบ้าน  สูติบัตร  บัตรประชาชน
          4.  แหล่งข้อมูลที่เป็นบันทึกของบุคคล  เช่น  บันทีกประจำวัน  บันทึกการเดินทาง
          เมื่อเราทราบแหล่งข้อมูลแล้ว  ก็สามารถแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ แล้วจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดให้เป็นระบบ  ก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการและนำไปใช้ประโยชน์ได้
                         แหล่งข้อมูล                                   วิธีแสวงหาข้อมูล
                            บุคคล                    พูดคุย  ซักถาม  สัมภาษณ์  สังเกต
                            สถานที่                  สำรวจ  สังเกต  ซักถามจากผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้น
                            เอกสารและบันทึก      อ่าน  และสังเกต
          การสืบค้นข้อมูลของตนเองและครอบครัว  จะทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตัวเรา  และสมาชิกในครอบครัว  เช่น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  ทำให้เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับตน  รวมทั้งเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ในครอบครัว  และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในครอบครัวของตนเองด้วย

     2.  ประวัติความเป็นมาของครอบครัว
          ประวัติความเป็นมาของแต่ละครอบครัว  เริ่มต้นจากปู่  ย่า  ตา  ยายของเรา  ที่ได้ตั้งที่อยู่อาศัยเพื่อทำมาหากิน  และได้ต่อสู้ฝ่าฟันกับความยากลำบาก  จนถึงรุ่นพ่อแม่ของเราและตัวเรา  ได้มีที่อยู่อาศัยอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
          ในช่วงเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน  แต่ละครอบครัวจะมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ควรจดจำ  ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัว
          ในแต่ละครอบครัว  จะมีประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกันไป  การศึกษาประวัติความเป้นมาของครอบครัว  ทำให้เราทราบว่า  ปู่ย่าตายายของเรามีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากเรา  รวมทั้งสภาพบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมในอีดตกับปัจจุบันก็แตกต่างกันด้วย

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

        ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

        ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

        ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

        ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐานการตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

        ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

        ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

            "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
        
        อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)

        อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)

        ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงคำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."
วิธีการทางประวัติศาสตร์

        คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย

        การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

  1. การรวบรวมหลักฐาน
  2. การคัดเลือกหลักฐาน
  3. การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
  4. การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
  5. การนำเสนอข้อเท็จจริง
        นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้

        วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
        นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป

        วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม